ปทุมธานี

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุรินทร์


องค์กรแพทย์และพยาบาลสุรินทร์ เตรียมร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ชะลอการก่อสร้างและตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม การก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหัวใจ และมะเร็ง ของโรงพยาบาลสุรินทร์ อาคาร คสล.9 ชั้น งบประมาณ 436,450,700 บาท โดยองค์กรแพทย์และพยาบาล เสนอให้สร้างอาคารดังกล่าว บริเวณด้านหน้าตำแหน่งอาคารอุบัติเหตุเดิม ขณะที่ผู้บริหาร โดยมีพลังหนุนจาก ส.ส.สุรินทร์ จำนวนมาก ซึ่งเป็นตระกูลมั่งคั่งทั้งที่ดินและอำนาจ ยืนยันให้สร้างบริเวณกึ่งกลางโรงพยบาล (บ้านพักด้านหลังโรงพยาบาล)
ในขณะที่รอการตรวจสอบจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ผมในฐานะที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการ ภาคประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม (สำนักนายกรัฐมนตรี) รับประสานเรื่องดังกล่าวกับภาคประชาชน ขอนำข้อพิจารณาบางส่วนจากสำนักงานสาธารณสุข จ.สุรินทร์ ต่อประเด็นระบบการให้บริการ-การส่งต่อผู้ป่วย หากก่อสร้างอาคารในบริเวณด้านหลังโรงพยาบาลว่า ต้องใช้เวลานานในการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งจะต้องเดินทางไกลมาก เนื่องจากอาคาร ใหม่ แยกส่วนออกจากกลุ่มอาคารบริเวณอื่นๆ ชัดเจน และมีอาคารของวิทยาลัยพยาบาล และอาคารแพทย์ศาสตร์ศึกษากีดขวางอยู่
นอกจากนี้ เส้นทางของถนนจากอาคารอุบัติ เหตุใหม่ ถึงกลุ่มบริการอื่นๆ มีลักษณะเป็น คอคอดและคดเคี้ยวมาก ซึ่งถนนดังกล่าว มีระยะห่างเพียง 10 เมตร(จากรั้ววิทยาลัย พยาบาล ถึงอาคารแพทย์ศึกษา) อีกทั้งมี ความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องใช้ระยะเวลา มากเกินไป เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะชักหมดสติ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยังมีประเด็นเปลี่ยนเส้นทางเข้า-ออก โรงพยบาล เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่สำคัญพี่น้องคนสุรินทร์และใกล้เคียง เมื่อถึงขั้นวิกฤติก็ต้องส่งตัวมาที่นี่ อันตรายและข้อเป็นห่วงต่อชีวิตผู้ป่วย ที่จะเข้ามาฝากชีวิตในโรงพยาบาลแห่งนี้ เป็นประเด็นสาธารณะที่ภาคประชาสังคม สมควรจะเปิดเวทีพูดคุยกัน 

ต่อสู้คดีพิพาท ที่สาธารณะประโยชน์ ป่าโคกโชค


"โชคสามสาย" ทวงสิทธิ์ที่ดิน
เครือข่ายแม่น้ำเสรี ร่วมกับอ.ดำเกิง โถทอง คณะทนายความประชาชน นำโดยคราศรี ลอยทอง เตรียมข้อมูลขึ้นต่อสู้คดีพิพาท ที่สาธารณะประโยชน์ ป่าโคกโชค ทับที่ ทำกินชาวบ้าน ต.ตระแสง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งชาวบ้านต่อสู้ภายใต้สิทธิชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ขณะ ที่อบต.คอโค ร่วมกับหน่วยงานรัฐ ใช้กฎหมายที่ดินบังคับใช้ ปกปิด ซ่อนเร้น อำพราง ข้อเท็จจริงหลายประการ
ข้อสังเกตมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.เจ้าหน้าที่รัฐ อัยการจังหวัด ไม่สามารถ ดำเนินคดีใดใดกับกลุ่มผู้เดือดร้อน เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษา รวบรวม หลักฐานข้อมูล โดยคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ เมื่อองค์กรอิสระ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้วินิจฉัยเสร็จสิ้น กระบวนการทางกฎหมาย ไม่ควรก้าวก่าย ข้ามขั้นตอน (มิเช่นนั้น จะมีองค์กรอิสระ
ไปทำไม)
2.กลุ่มผู้เดือดร้อน ร้องเรียนผู้ตรวจการ แผ่นดิน ให้ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม เกี่ยวกับการประกาศเขต นสร.ทับที่ทำกิน การจัดทำแนวเขตแบ่งแยกตำบลคอโค และตำบลตระแสง ว่าใช้อำนาจถูกต้อง ชอบธรรม หรือไม่อย่างไร ยังไม่มีข้อสรุป อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด (องค์กรอิสระ ภายใต้รัฐธรรมนูญเช่นกัน)
ทั้งนี้ หากสามารถรวบรวมพยาน หลักฐาน ชี้ชัดได้ว่า พื้นที่พิพาทนั้นอยู่นอก เขต อำนาจตำบลคอโค เจ้าหน้าที่ใดสมรู้ เป็นใจ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารราชการ
จะเตรียมยื่นฟ้องร้องดำเนินคดี ฐานเป็นเจ้า หน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด กับคดีต่อสู้ที่ดิน ของคนจน บนหน้าประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์

2