ปทุมธานี

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติสถานที่ในเขตคูเมืองชั้นนอกและชั้นในจ.สุรินทร์

หลวงพ่อพระชี

เริ่มต้นจากหลวงพ่อทอง (สดัจทอง) วัดสัตถาชุมพล (จุมพลสุทธาวาส) โดยที่ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแอก วัดคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ในวันสำคัญ ๆ ท่านมักจะพาญาติโยมไปนมัสการหลวงพ่อแอกอยู่เสมอ ๆ ในพรรษาหนึ่ง ช่วงหน้าฝน ต้องข้ามน้ำไปลำบาก ท่านจึงชักชวนญาติโยมสร้างสะพานที่บ้านไทย อนึ่งในช่วงที่ญาติโยมกำลังพากันสร้างสะพานซึ่งต้องใช้เวลานานนั้น หลวงพ่อทองได้ให้ลูกศิษย์ญาติโยมนำดินอิฐมาปั้นเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เมื่อปั้นแห้งและเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับสร้างสะพานเสร็จ ญาติโยมก็พากันแห่มีประดิษฐ์สถานพร้อมประกอบพิธีเบิกพระเนตรที่วัดสัตถาชุมพล
อนึ่งครั้งประกอบพิธีเบิกพระเนตรนั้น ท่านหลวงพ่อทองพร้อมญาติโยม ขนานนามพระพุทธรูปว่า “เปรียะชี” พระชี อนึ่งศัพท์ว่า ‘ชี’ นี้วินิจฉัยได้ ๒ ประการคือ
๑. ที่เรียกพลวงพ่อพระชี อาจนำชื่อ แม่น้ำลำชีที่ หลวงพ่อทองท่านให้ญาติโยมนำดินอิฐมาจากแม่น้ำลำชี มาปั้นเป็นพระพุทธรูปก็ได้ หรือ
๒. ที่เรียกชื่อว่า “พระชี” อาจเรียกตามสภาพของพระพุทธรูปที่ปั้น คือเป็นพระพุทธปฏิมาที่ใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ จึงเรียกว่า “เปรียะชี” อนึ่งคำว่า ‘ชี’ เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ แปลว่า ผู้เฒ่า, หรือผู้ใหญ่ หรือใหญ่ หรือประธาน ชาวเขมรเรียกพระประธานในพระอุโบสถว่า “เปรียะชี = พระประธาน แต่ออกเสียง จี เพราะ อักษร ช เป็นอักษรอโฆษะ ออกเสียงเท่ากับ อักษร จ ในภาษาไทย อนึ่ง คำว่า ชี นี้มีปากฎในศิลาจารึกหลายแห่ง เช่น ในศิลาจารึกสด็กกอ็กธม ได้กล่าวถึง พราหมณ์ ศิวไกวัลย์ว่า “อชิ, ชี ศิวไกวัลย์ = ศิวไกวัลย์ผู้เฒ่า, ผู้เป็นใหญ่ ฯลฯ)
ที่มา บุญเรือง คัชมาย์. (2551). อาศรม ม.ร.สร. จารึกและตำนานวัดจุมพล


วัดกลางกับวัดบูรพาราม

เมื่อก่อนนี้ยังไม่มีวัดบูรพาราม มีแต่วัดกลาง เนื้อที่วัดกลาง กว้างครอบคลุมเนื้อที่วัดบูรณ์ปัจจุบัน โดยพระเณรวัดกลางเห็นว่า พื้นที่ ที่เป็นวัดบูรพารามปัจจุบัน เป็นดินดีมีปุ๋ยเหมาะแก่การเพาะปลูก จึงชักชวนกันมาปลูกผักผลไม้ต่าง ๆ พระวัดกลางพาลูกศิษย์มาทำสวนผักนาน ๆ เข้า ก็พากันสร้างกระท่อมที่พักชั่วคราว ต่อมาก็เริ่มสร้างกุฏีถาวร และสร้างศาลาประดิษฐานพระชีด้วย ก่อนที่วัดบูรณ์กับวัดกลางแยกเป็นสองวัดและสองนิกาย ในช่วงนี้ สวนผักของวัดกลางได้แบ่งแยกเป็นวัดและการปกครองจากวัดกลางแล้ว โดยเรียกชื่อว่า วัดบูรพาราม แต่ยังสังกัดสายมหานิกายขึ้นต่อหลวงพ่อทองวัดสัตถาชุมพลเหมือนเดิม สวนผักวัดกลางเป็นวัดบูรพารามและขึ้นต่อสายธรรมยุติกนิกาย ในช่วงที่หลวงพ่อทอง ยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่นั้น ท่านได้ส่งหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ไปเรียนธรรมบาลีที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อหลวงพ่อดุลไปจำพรรษาที่จังหวัดอุบลฯแล้ว ท่านได้ไปสังกัดนิกายพระธรรมยุติกนิกาย โดยที่หลวงพ่อทอง พระอุปัชฌาย์ ไม่ทราบ เมื่อหลวงพ่อดุลย์กลับจากจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ท่านไม่ได้จำพรรษาที่วัดสัตถาชุมพล แต่ท่านไปจำพรรษาที่วัดนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยพักอยู่ที่กุฎิไม้ทางทิศใต้ ที่พลวงพ่อเปล่ง พิมพะสิริ จำพรรษาอยู่ปัจจุบันนี้ วัดบูรพรามขึ้นสังกัดธรรมยุตติกนิกาย

ต่อมาเมื่อเจ้าอาวาสวัดบูรพาว่างลง ฝ่ายหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสมัยนั้น โดยไม่ทราบว่า หลวงปู่ดุลย์ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่านนั้น ได้แปรพักตร์เข้าฝ่ายธรรมยุติกนิกายตั้งแต่ไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว หลวงพ่อทอง จึงส่งหลวงปู่ดุลไปจำพรรษาที่วัดบูพาราม และเมื่อหลวงปู่ดุลมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบูรพารามแล้ว ท่านก็ประกาศให้วัดบูรพารามเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยไม่ขึ้นต่อหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์อีก วัดบูรพาราม เดิมเป็นสวนผักกาดวัดกลางสุรินทร์ จึงได้กลายเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ที่มา บุญเรือง คัชมาย์. (2551). อาศรม ม.ร.สร. จารึกและตำนานวัดจุมพล

คูปทายสมันต์และวัดจุมพลสุทธาวาส

เมื่อเชียงปุม ได้รับพระกรุณาโปรดแกล้า ให้เป็นเจ้าเมืองแล้ว จึงได้ย้ายศูนย์การปกครองมาอยู่ที่ คูปทายสมันต์ ประมาณปี
พุทธศักราช ๒๓๐๖ โดยมาตั้งอยู่ในพื้นที่ ด้านหลังศาลากลางจังหวัด ที่เรียกว่า คุ้มสุรินทร์ภักดีปัจจุบัน และเมื่อย้ายมาแล้ว เห็นว่าจะขยาย บ้านเรือนไม่ได้ เพราะด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดจุมพลสุทธาวาส เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองสุรินทร์ ที่ตั้งเดิมตั้งอยู่ ในอาณาบริเวณพื้นที่ ที่ตั้ง สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ (เดิมเป็นที่ตั้งสำนักงานศึกษาจังหวัด) ในวัดนี้ มัต้นโพธิ์ใหญ่ ๓ ต้น จึงงตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์” ครั้นย้ายวัดไปอยู่นอกคูเมืองชั้นสอง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า ‘วัดสมอ, ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๔๑๘ สมัยหลวงพ่อทอง เป็นเจ้าอาวาส หลังจากย้ายวัดครั้งที่หนึ่งแล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น วัดสัตถาชุมพล ตามจารึกใต้ฐานพระพุทธรูปที่พบในกุฎีท่านพระครูวิมลขันติธรรม (ศัพท์ว่า สัตถา แปลว่า “พระศาสดา” พื้นที่ที่มีตันโพธิ์ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นทุ่งนา กล่าวขานกันว่า ขุดตรงไหนพบแต่กระดูก คงเป็นป่าช้าเก่า หลายปีต่อมานอกกำแพงเมืองและวัดถูกน้ำท่วม บ่อย ๆ หลวงพ่อเปาว์ เป็นเจ้าอาวาสงย้ายวัดจากด้านทิศใต้ มาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน โดยซื้อที่ดินเพิ่มเรื่อย ๆ

ที่มา บุญเรือง คัชมาย์.(2551). อาศรม ม.ร.สร. จารึกและตำนานวัดจุมพล2