ปราสาทตาควาย
1. ที่ตั้ง ช่องตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgt7auOySfJvAJ2Gw2-Yrfgy86LmHHcn7aVipzj6aGXcuDWaghn0q0-0PILzYdcUJsr7Q_e16LFAGvzMZjnTaG16x_r5qYOl2CL25lccRtmVQbro3qpDKVgnq6EoYOyNrebJ-7K6xox7mHU/s400/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg)
ปราสาทตาควายอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธมตามเส้นทางรถยนตร์ประมาณ 25.4 กม.หรือ ประมาณ59 นาที
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgPl-W_6Xjw4EX0N2ykyTS10nfmuAhxKu3m0rUZuUGi_aiqPHsWFMnnwGlzedFWwzykwLQh9r6sN_dvrsrcEjxk77RPmYZlBVqBjr9YJJ0KdHIIye7qvwvcgKO4rGnEMGyIbwWwhmrcvCGD/s400/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg)
แต่ระยะทางตรงจากปราสาทตาเมือนธมถึงปราสาทตาควายเพียง 11.92 กม. ซึ่งเต็มไปด้วยระเบิดที่ฝังอยู่
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjZfpu1uRlFyilQ3YZTkH1U_gIXJj8hRP8EvGU3Nvk-DByM-XyClGGBHFJ0u81FmZ4_c4Dc4PMkAcgDiZFAbz0mOMMO-JlFJSMXq3UtK4TabSBA4WxIzxPqbk3lH-DpsYD6QrsUXVn0cqVZ/s400/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1.jpg)
ในขณะที่ระยะทางห่างจากด่านศุลการกรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิงประมาณ 52.1 กม. หรือประมาณ 52.1 กม.หรือประมาณ 1 ชม.26 นาที
2. ลักษณะสถาปัตยกรรมของตัวปราสาท ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่ปรากฏว่ามีอาคารประกอบอื่นๆ เช่น ระเบียงคด บรรณาลัย หรือโคปุระ ตัวปราสาทก่อด้วยหินทราย คะเนด้วยสายตาว่าน่าจะมีความสูงประมาณ ๑๒ - ๑๕ เมตรจากพื้นดิน (ไม่รวมส่วนฐานที่คงยังฝังจมอยู่ในดิน) มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ทุกด้านเป็นช่องประตูจริง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า (ตะวันออก)เป็นมุขสั้นๆ ปัจจุบันพังทลายลงมาบางส่วน สภาพของปราสาทตาควายนับว่าสมบูรณ์มาก คือชั้นหลังคายังอยู่ทั้งหมดจนถึงบัวยอด แต่การก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพียงก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้ขัดแต่งผิวหิน หรือแกะสลักลวดลายใดๆ ซึ่งนั่นเองอาจเป็นเหตุให้ปราสาทยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทำลาย หรือลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่างๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ตามแนวชายแดน เช่นปราสาทตาเมือนธม การที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้ ทำให้กำหนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าน่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10 วันที่1 พ.ค. 2549 โดย ศรันย์ ทองปาน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj9GnjhB9_2HEdIBGU5NPE5t7jsWSEBmGB9Da_bYZBt73sZHXKsIVPEFal8f3jp-U1DrBMNXkEl5k7KWpEa8u-l-TmseImqc4xm4OvaQTfqzLVSk6xdxvjjKkqgxJQfW4JIxMlF50fmbS5z/s400/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg)
ปราสาทนี้มีมุขอยู่สี่ทิศ ทิศตะวันออกมีมุขสั้นยื่นออกมา แต่ไม่มีมณฑป(ห้องโถง) เชื่อมมาด้านหน้าเหมือนพิมายหรือพนมรุ้ง http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10
3. ประสบการณ์จากผู้ที่เคยเยือน
3.1 วิชญดา ทองแดง ได้เล่าไว้ในบันทึกช่วยจำ : กาลครั้งนั้นที่ปราสาทตาควาย ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี ๒๕๔๖ กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ มีโอกาสได้ร่วมทีมกับอาจารย์จากสถาบันราชภัฏสุรินทร์ และคณะผู้จัดทำจุลสาร "จอมสุรินทร์" (ส่วนหนึ่งคือ “กลุ่มสุรินทร์สโมสร” ในปัจจุบัน) ขึ้นไปเยือนปราสาทตาควาย ดังที่ศรัณย์ ทองปาน ได้บันทึกไว้ใน “ตาควาย ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ” (วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๒ (เมษายน – มิถุนายน) ๒๕๔๗ วันเวลามักผ่านไปรวดเร็วเสมอ เมื่อลองย้อนกลับไปดูสมุดบันทึกในช่วงนั้น ฉันก็ได้พบว่าเราขึ้นไปเยือนตาควายกันในราวเที่ยงของวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ นั่นก็ผ่านมาห้าปีแล้วความทรงจำที่ยังหลงเหลืออยู่มีไม่มากนัก จำได้แต่ว่าขณะที่กองบก. อยู่ในระหว่างดำเนินงานสำรวจอโรคยาศาลในดินแดนไทย กฤช เหลือลมัย ได้ทราบข่าวปราสาทหลังนี้จากพรรคพวกชาวสุรินทร์ เมื่อเห็นว่าอยู่ในวิสัยที่จะพ่วงไปสำรวจด้วยได้ ก็ได้ขอให้ช่วยประสานงานกับหน่วยทหารพรานในพื้นที่ แต่นั่นใช่ว่าหนทางจะสะดวกสบาย เพราะถนนเข้าสู่ปราสาทยังไม่ดีนัก เมื่อเราพบคณะชาวสุรินทร์ที่บ้านบักได กิ่งอำเภอพนมดงรักแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นใช้รถปิคอัพขนาดใหญ่แล่นผ่านบ้านไทยสันติสุข บุกป่าฝ่าไร่ไปอีกนานหลายอึดใจ กว่าจะไปถึงฐานปฏิบัติการช่องตึ๊กเบ๊าะของทหารพราน (กองร้อยทหารพรานที่ ๙๖๐) ที่จะนำทางเราขึ้นไปที่ฐานทหารพรานด้านบนพร้อมอาวุธครบมือ ระหว่างทางมีเหตุการณ์ให้ลุ้นระทึกอยู่บ้าง เช่นว่า รถ (และคนอีกกว่าสิบ) ผ่านสะพานไม้เล็กๆ ไม่ได้ คนต้องลงเดินนำหน้าในบางช่วง บางขณะเมื่ออยู่ท้ายรถก็ต้องคอยระวังหลบหลีกกิ่งไม้และทรงตัวให้มั่นคงจากแรงเหวี่ยงเมื่อทางคดหรือรถขึ้นเขา ฯลฯ เรื่องยังไม่จบแค่นั้น เพราะทันทีที่ถึงฐานทหารพราน เจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่าจากตำแหน่งนี้ต้องเดินเท้าเป็นทางลาดขึ้นเขาไปอีกราว ๑ – ๒ กิโลเมตร พวกเราเดินไปตามทางที่เจ้าหน้าที่กำชับนักหนาว่าอย่าออกนอกเส้นทาง เพราะมีระเบิดที่ยังไม่ได้กู้อยู่มาก ฝีเท้าของทหารพรานที่จ้ำอย่างรวดเร็วทำให้พวเราต้องก้มหน้าก้มตาเดินให้ทัน ไม่มีจังหวะให้ชมนกชมไม้ใดๆ ผ่านไปราวกว่าครึ่งชั่วโมง ทหารที่นำทางมาก็หยุดและชี้บอกว่าถึงแล้ว ปราสาทหินสูงทะมึนประจักษ์แก่สายตาครู ตชด.คนหนึ่งในทีมเดินทางครั้งนี้ เล่าว่ารู้จักปราสาทนี้มาพักหนึ่งแล้ว บางครั้งก็เคยมาเดินเก็บหาของป่า ชาวบ้านตามแนวชายแดนนี้ก็รู้กันว่ามีปราสาทหลังนี้อยู่ บางคนก็เรียกกันว่า “ปราสาทตากระเบย” (ในภาษาเขมร กระเบย/กรอเบย หมายถึง ควาย) ช่างภาพและพวกเรากระจายกันเก็บภาพอย่างรีบเร่ง เพราะไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่จะให้โอกาสเราอยู่ในพื้นที่นานเท่าไร บางคนพยายามเดินสำรวจให้ทั่วบริเวณ แต่ก็ทำไม่ได้มากนัก เพราะเจ้าหน้าที่จะคอยเตือนด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย เราเก็บภาพกันได้ไม่มากนักส่วนหนึ่งเพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย อีกส่วนหนึ่งเพราะขณะนั้นแทบไม่มีใครในทีมที่ใช้กล้องดิจิตอล!หน้าที่วิเคราะห์วินิจฉัยรูปแบบการสร้างและอายุสมัย ตกหนักอยู่ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ในทีม พวกเราล้อมวงฟังอย่างสนใจหลังจากที่ช่วยกันสำรวจรายละเอียดรอบๆ ทั้งตัวปราสาทและสภาพแวดล้อมใกล้เคียง ข้อสรุปที่ได้ก็คือ ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่มีลวดลายและร่องรอยใดๆ พอให้ระบุอายุสมัยได้ถนัดนัก เราใช้เวลาอยู่ที่ปราสาทตาควายในราวหนึ่งชั่วโมง ทหารพรานก็นำพวกเรากลับลงมาด้วยฝีเท้าเท่าเดิม คราวนี้ฉันถึงกับใกล้เป็นลม โชคดีที่มาถึงฐานทหารพรานพอดีเลยได้นั่งพักอีกพักใหญ่วันนี้ปราสาทตาควายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง ไม่มีใครบอกได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป การพบกันของนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๖ ของไทยกับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาในวันที่ ๑๓ ตุลาคมนี้ จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้หรือไม่ แต่น้อยที่สุด ปราสาทตาควาย-มรดกแห่งบรรพกาล-ก็ได้เปิดตัวออกสู่สายตาชาวโลกแล้ว http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file
3.2 ศรันย์ ทองปาน ได้เล่าไว้ใน ตาควาย ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2547 http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10
4. สภาพปัจจุบัน เนื่องจากการเก็บกู้กับระเบิดในบริเวณนั้นยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งยังเป็นเขตที่มิได้มีการปักปันพรมแดนกันอย่างชัดเจน การเดินทางเข้าไปยังปราสาทตาควาย จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานกับทางหน่วยทหารพรานของกองกำลังสุรนารีในพื้นที่ เพื่อขอกำลังอารักขาดูแลความปลอดภัย ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือนในช่วงสิบกว่าปีก่อน(พ.ศ.2549) แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างหน่วยทหารพรานของไทย กับกำลังตำรวจของกัมพูชาจะเป็นไปด้วยดี มีการเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่ และออกลาดตระเวนร่วมกันเสมอหากแต่การจะพัฒนาปราสาทตาควายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ หรือแม้แต่การที่จะมีนักท่องเที่ยวไทยเข้าไปกันเป็นจำนวนมากนั้น ย่อมไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายกัมพูชานัก ดังปรากฏท่าทีว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 หนังสือพิมพ์ของกัมพูชา อย่างน้อยสองฉบับ ก็เคยลงข่าวว่ากองกำลังของไทยลักลอบนำสารเคมีมาโปรยที่ปราสาทกรอเบย (กระบือ - ควาย) ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้ตัวปราสาทพังทลายลงมา หนังสือพิมพ์ มนสิการเขมร เสริมด้วยว่า "ประเทศไทยกำลังทำสงคราม ทำลายวัฒนธรรม และทำสงครามช่วงชิงดินแดนของประเทศกัมพูชาแล้ว http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=244&Itemid=57
5. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5.1 ทหารกองกำลังสุรนารีและผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 กองทัพภาคทึ่ 2 ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับเดลินิวส์ว่า ประมาณ 2-3 วันที่ผ่านมา พ.อ. เนี๊ยะ วงศ์ รองเสนาธิการทหารชายแดนที่ 402 ประเทศกัมพูชา ที่นำทหารพร้อมอาวุธครบมือประมาณ 150 นาย เข้ามายังปราสาทตาควาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ ฝ่ายไทยมีทหารพรานที่ 2606 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ตรึงกำลังประชิดบริเวณปราสาท ทหารกัมพูชายิงปืนขึ้นฟ้าข่มขู่ทหารไทย ทำให้เกิดความตึงเครียดทั้ง 2 ฝ่าย ผลการเจรจาต่างฝ่ายต่างถอนทหารออกไปจนกว่าคณะกรรมการชายแดนไทยและกัมพูชาจะทำการสำรวจและปักปันเขตแดน (2551, กันยายน 15 เดลินิวส์).
![](http://2.bp.blogspot.com/_--g4rEqjGL8/St9_jQuTTaI/AAAAAAAAD5A/kzX9ozDKjWY/s400/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81+copy.jpg)
5.2 ตามที่มีรายงานข่าวว่าทหารกัมพูชาได้นำกำลังเข้ามาตั้งอยู่ในบริเวณปราสาทตาควายของไทยเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2551 นั้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 เวลา 17.00 น. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยมาที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อมอบบันทึกช่วยจำประท้วงกรณีทหารกัมพูชารุกล้ำดินแดนไทยบริเวณปราสาทตาควาย อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ สาระสำคัญของบันทึกช่วยจำดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. วันที่ 6 กันยายน 2551 หน่วยทหารกัมพูชาจำนวนประมาณ 70 นาย ได้เข้ามายึดครองพื้นที่บริเวณปราสาทตาควายซึ่งอยู่ในดินแดนไทย (หลังจากที่เคยเข้ามาครั้งหนึ่งแล้วจำนวน 30 คนระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2551) ส่วนราชการท้องถิ่นของไทยจึงได้จึงขอให้หน่วยทหารกัมพูชาดังกล่าวถอนกำลังออกไปจากพื้นที่โดยทันที แต่หน่วยทหารกัมพูชากลับเพิกเฉยอยู่หลายวัน และได้ถอนกำลังออกไปจากปราสาทตาควายและพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็เมื่อส่วนราชการท้องถิ่นของไทยได้ประท้วงซ้ำแล้วซ้ำอีก 2. การกระทำของหน่วยทหารกัมพูชาดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ประท้วงอย่างเป็นทางการและขอให้ฝ่ายกัมพูชาทำอย่างเต็มที่เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต 3. ฝ่ายไทยยึดมั่นในเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกับกัมพูชาภายใต้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนอย่างยุติธรรมและโดยสันติวิธีกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่าปราสาทตาควายอยู่ในดินแดนไทย โดยในขณะนี้ไทยกับกัมพูชากำลังสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันตลอดแนวเขตแดน 798 กิโลเมตร ตามที่ตกลงกันไว้ในบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 การดำเนินการดังกล่าวมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี และเป็นช่องทางที่มีไว้สำหรับการแก้ไขปัญหาเขตแดนทุกกรณี รวมทั้งกรณีนี้
ที่มา: กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th
10 เม.ย. 2010
อัปโหลดเมื่อ26 เม.ย. 2011
อัปโหลดเมื่อ
เผยแพร่เมื่อ 18 เม.ย. 2012
ทหารไทยรบกับเขมรที่ปราสาทตาเมืองตาควาย
ทหารกัมพูชา กำลังก่อสร้างราง และกระเช้า บริเวณเชิงทางขึ้นปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นการลำเลียงอาวุธ และทหารในการใช้เป็นฐานโจมตีประเทศไทย อัปโหลดเมื่อ 5 มี.ค. 2011