ปทุมธานี

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปราสาทตาควาย

ปราสาทตาควาย

1. ที่ตั้ง ช่องตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์


ปราสาทตาควายอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธมตามเส้นทางรถยนตร์ประมาณ 25.4 กม.หรือ ประมาณ59 นาที



แต่ระยะทางตรงจากปราสาทตาเมือนธมถึงปราสาทตาควายเพียง 11.92 กม. ซึ่งเต็มไปด้วยระเบิดที่ฝังอยู่



ในขณะที่ระยะทางห่างจากด่านศุลการกรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิงประมาณ 52.1 กม. หรือประมาณ 52.1 กม.หรือประมาณ 1 ชม.26 นาที

2. ลักษณะสถาปัตยกรรมของตัวปราสาท ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่ปรากฏว่ามีอาคารประกอบอื่นๆ เช่น ระเบียงคด บรรณาลัย หรือโคปุระ ตัวปราสาทก่อด้วยหินทราย คะเนด้วยสายตาว่าน่าจะมีความสูงประมาณ ๑๒ - ๑๕ เมตรจากพื้นดิน (ไม่รวมส่วนฐานที่คงยังฝังจมอยู่ในดิน) มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ทุกด้านเป็นช่องประตูจริง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า (ตะวันออก)เป็นมุขสั้นๆ ปัจจุบันพังทลายลงมาบางส่วน สภาพของปราสาทตาควายนับว่าสมบูรณ์มาก คือชั้นหลังคายังอยู่ทั้งหมดจนถึงบัวยอด แต่การก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพียงก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้ขัดแต่งผิวหิน หรือแกะสลักลวดลายใดๆ ซึ่งนั่นเองอาจเป็นเหตุให้ปราสาทยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทำลาย หรือลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่างๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ตามแนวชายแดน เช่นปราสาทตาเมือนธม การที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้ ทำให้กำหนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าน่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10 วันที่1 พ.ค. 2549 โดย ศรันย์ ทองปาน



ปราสาทนี้มีมุขอยู่สี่ทิศ ทิศตะวันออกมีมุขสั้นยื่นออกมา แต่ไม่มีมณฑป(ห้องโถง) เชื่อมมาด้านหน้าเหมือนพิมายหรือพนมรุ้ง http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10


3. ประสบการณ์จากผู้ที่เคยเยือน
3.1 วิชญดา ทองแดง ได้เล่าไว้ในบันทึกช่วยจำ : กาลครั้งนั้นที่ปราสาทตาควาย ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี ๒๕๔๖ กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ มีโอกาสได้ร่วมทีมกับอาจารย์จากสถาบันราชภัฏสุรินทร์ และคณะผู้จัดทำจุลสาร "จอมสุรินทร์" (ส่วนหนึ่งคือ “กลุ่มสุรินทร์สโมสร” ในปัจจุบัน) ขึ้นไปเยือนปราสาทตาควาย ดังที่ศรัณย์ ทองปาน ได้บันทึกไว้ใน “ตาควาย ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ” (วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๒ (เมษายน – มิถุนายน) ๒๕๔๗ วันเวลามักผ่านไปรวดเร็วเสมอ เมื่อลองย้อนกลับไปดูสมุดบันทึกในช่วงนั้น ฉันก็ได้พบว่าเราขึ้นไปเยือนตาควายกันในราวเที่ยงของวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ นั่นก็ผ่านมาห้าปีแล้วความทรงจำที่ยังหลงเหลืออยู่มีไม่มากนัก จำได้แต่ว่าขณะที่กองบก. อยู่ในระหว่างดำเนินงานสำรวจอโรคยาศาลในดินแดนไทย กฤช เหลือลมัย ได้ทราบข่าวปราสาทหลังนี้จากพรรคพวกชาวสุรินทร์ เมื่อเห็นว่าอยู่ในวิสัยที่จะพ่วงไปสำรวจด้วยได้ ก็ได้ขอให้ช่วยประสานงานกับหน่วยทหารพรานในพื้นที่ แต่นั่นใช่ว่าหนทางจะสะดวกสบาย เพราะถนนเข้าสู่ปราสาทยังไม่ดีนัก เมื่อเราพบคณะชาวสุรินทร์ที่บ้านบักได กิ่งอำเภอพนมดงรักแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นใช้รถปิคอัพขนาดใหญ่แล่นผ่านบ้านไทยสันติสุข บุกป่าฝ่าไร่ไปอีกนานหลายอึดใจ กว่าจะไปถึงฐานปฏิบัติการช่องตึ๊กเบ๊าะของทหารพราน (กองร้อยทหารพรานที่ ๙๖๐) ที่จะนำทางเราขึ้นไปที่ฐานทหารพรานด้านบนพร้อมอาวุธครบมือ ระหว่างทางมีเหตุการณ์ให้ลุ้นระทึกอยู่บ้าง เช่นว่า รถ (และคนอีกกว่าสิบ) ผ่านสะพานไม้เล็กๆ ไม่ได้ คนต้องลงเดินนำหน้าในบางช่วง บางขณะเมื่ออยู่ท้ายรถก็ต้องคอยระวังหลบหลีกกิ่งไม้และทรงตัวให้มั่นคงจากแรงเหวี่ยงเมื่อทางคดหรือรถขึ้นเขา ฯลฯ เรื่องยังไม่จบแค่นั้น เพราะทันทีที่ถึงฐานทหารพราน เจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่าจากตำแหน่งนี้ต้องเดินเท้าเป็นทางลาดขึ้นเขาไปอีกราว ๑ – ๒ กิโลเมตร พวกเราเดินไปตามทางที่เจ้าหน้าที่กำชับนักหนาว่าอย่าออกนอกเส้นทาง เพราะมีระเบิดที่ยังไม่ได้กู้อยู่มาก ฝีเท้าของทหารพรานที่จ้ำอย่างรวดเร็วทำให้พวเราต้องก้มหน้าก้มตาเดินให้ทัน ไม่มีจังหวะให้ชมนกชมไม้ใดๆ ผ่านไปราวกว่าครึ่งชั่วโมง ทหารที่นำทางมาก็หยุดและชี้บอกว่าถึงแล้ว ปราสาทหินสูงทะมึนประจักษ์แก่สายตาครู ตชด.คนหนึ่งในทีมเดินทางครั้งนี้ เล่าว่ารู้จักปราสาทนี้มาพักหนึ่งแล้ว บางครั้งก็เคยมาเดินเก็บหาของป่า ชาวบ้านตามแนวชายแดนนี้ก็รู้กันว่ามีปราสาทหลังนี้อยู่ บางคนก็เรียกกันว่า “ปราสาทตากระเบย” (ในภาษาเขมร กระเบย/กรอเบย หมายถึง ควาย) ช่างภาพและพวกเรากระจายกันเก็บภาพอย่างรีบเร่ง เพราะไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่จะให้โอกาสเราอยู่ในพื้นที่นานเท่าไร บางคนพยายามเดินสำรวจให้ทั่วบริเวณ แต่ก็ทำไม่ได้มากนัก เพราะเจ้าหน้าที่จะคอยเตือนด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย เราเก็บภาพกันได้ไม่มากนักส่วนหนึ่งเพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย อีกส่วนหนึ่งเพราะขณะนั้นแทบไม่มีใครในทีมที่ใช้กล้องดิจิตอล!หน้าที่วิเคราะห์วินิจฉัยรูปแบบการสร้างและอายุสมัย ตกหนักอยู่ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ในทีม พวกเราล้อมวงฟังอย่างสนใจหลังจากที่ช่วยกันสำรวจรายละเอียดรอบๆ ทั้งตัวปราสาทและสภาพแวดล้อมใกล้เคียง ข้อสรุปที่ได้ก็คือ ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่มีลวดลายและร่องรอยใดๆ พอให้ระบุอายุสมัยได้ถนัดนัก เราใช้เวลาอยู่ที่ปราสาทตาควายในราวหนึ่งชั่วโมง ทหารพรานก็นำพวกเรากลับลงมาด้วยฝีเท้าเท่าเดิม คราวนี้ฉันถึงกับใกล้เป็นลม โชคดีที่มาถึงฐานทหารพรานพอดีเลยได้นั่งพักอีกพักใหญ่วันนี้ปราสาทตาควายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง ไม่มีใครบอกได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป การพบกันของนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๖ ของไทยกับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาในวันที่ ๑๓ ตุลาคมนี้ จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้หรือไม่ แต่น้อยที่สุด ปราสาทตาควาย-มรดกแห่งบรรพกาล-ก็ได้เปิดตัวออกสู่สายตาชาวโลกแล้ว http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file


3.2 ศรันย์ ทองปาน ได้เล่าไว้ใน ตาควาย ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2547 http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10

4. สภาพปัจจุบัน เนื่องจากการเก็บกู้กับระเบิดในบริเวณนั้นยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งยังเป็นเขตที่มิได้มีการปักปันพรมแดนกันอย่างชัดเจน การเดินทางเข้าไปยังปราสาทตาควาย จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานกับทางหน่วยทหารพรานของกองกำลังสุรนารีในพื้นที่ เพื่อขอกำลังอารักขาดูแลความปลอดภัย ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือนในช่วงสิบกว่าปีก่อน(พ.ศ.2549) แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างหน่วยทหารพรานของไทย กับกำลังตำรวจของกัมพูชาจะเป็นไปด้วยดี มีการเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่ และออกลาดตระเวนร่วมกันเสมอหากแต่การจะพัฒนาปราสาทตาควายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ หรือแม้แต่การที่จะมีนักท่องเที่ยวไทยเข้าไปกันเป็นจำนวนมากนั้น ย่อมไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายกัมพูชานัก ดังปรากฏท่าทีว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 หนังสือพิมพ์ของกัมพูชา อย่างน้อยสองฉบับ ก็เคยลงข่าวว่ากองกำลังของไทยลักลอบนำสารเคมีมาโปรยที่ปราสาทกรอเบย (กระบือ - ควาย) ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้ตัวปราสาทพังทลายลงมา หนังสือพิมพ์ มนสิการเขมร เสริมด้วยว่า "ประเทศไทยกำลังทำสงคราม ทำลายวัฒนธรรม และทำสงครามช่วงชิงดินแดนของประเทศกัมพูชาแล้ว http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=244&Itemid=57


5. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

5.1 ทหารกองกำลังสุรนารีและผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 กองทัพภาคทึ่ 2 ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับเดลินิวส์ว่า ประมาณ 2-3 วันที่ผ่านมา พ.อ. เนี๊ยะ วงศ์ รองเสนาธิการทหารชายแดนที่ 402 ประเทศกัมพูชา ที่นำทหารพร้อมอาวุธครบมือประมาณ 150 นาย เข้ามายังปราสาทตาควาย เพื่อเข้ายึดพื้นที่ ฝ่ายไทยมีทหารพรานที่ 2606 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ตรึงกำลังประชิดบริเวณปราสาท ทหารกัมพูชายิงปืนขึ้นฟ้าข่มขู่ทหารไทย ทำให้เกิดความตึงเครียดทั้ง 2 ฝ่าย ผลการเจรจาต่างฝ่ายต่างถอนทหารออกไปจนกว่าคณะกรรมการชายแดนไทยและกัมพูชาจะทำการสำรวจและปักปันเขตแดน (2551, กันยายน 15 เดลินิวส์).








5.2 ตามที่มีรายงานข่าวว่าทหารกัมพูชาได้นำกำลังเข้ามาตั้งอยู่ในบริเวณปราสาทตาควายของไทยเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2551 นั้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 เวลา 17.00 น. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยมาที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อมอบบันทึกช่วยจำประท้วงกรณีทหารกัมพูชารุกล้ำดินแดนไทยบริเวณปราสาทตาควาย อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ สาระสำคัญของบันทึกช่วยจำดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. วันที่ 6 กันยายน 2551 หน่วยทหารกัมพูชาจำนวนประมาณ 70 นาย ได้เข้ามายึดครองพื้นที่บริเวณปราสาทตาควายซึ่งอยู่ในดินแดนไทย (หลังจากที่เคยเข้ามาครั้งหนึ่งแล้วจำนวน 30 คนระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2551) ส่วนราชการท้องถิ่นของไทยจึงได้จึงขอให้หน่วยทหารกัมพูชาดังกล่าวถอนกำลังออกไปจากพื้นที่โดยทันที แต่หน่วยทหารกัมพูชากลับเพิกเฉยอยู่หลายวัน และได้ถอนกำลังออกไปจากปราสาทตาควายและพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็เมื่อส่วนราชการท้องถิ่นของไทยได้ประท้วงซ้ำแล้วซ้ำอีก 2. การกระทำของหน่วยทหารกัมพูชาดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักรไทย กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ประท้วงอย่างเป็นทางการและขอให้ฝ่ายกัมพูชาทำอย่างเต็มที่เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต 3. ฝ่ายไทยยึดมั่นในเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกับกัมพูชาภายใต้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนอย่างยุติธรรมและโดยสันติวิธีกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่าปราสาทตาควายอยู่ในดินแดนไทย โดยในขณะนี้ไทยกับกัมพูชากำลังสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันตลอดแนวเขตแดน 798 กิโลเมตร ตามที่ตกลงกันไว้ในบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 การดำเนินการดังกล่าวมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี และเป็นช่องทางที่มีไว้สำหรับการแก้ไขปัญหาเขตแดนทุกกรณี รวมทั้งกรณีนี้
ที่มา: กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th


ปราสาท ตาควาย อัปโหลดเมื่อ 10 เม.ย. 2010





พาสำรวจปราสาทตาควาย โดยวีระ สมความคิด  อัปโหลดเมื่อ 26 เม.ย. 2011




พาสำรวจปราสาทตาควาย โดยวีระ สมความคิด 1





ปะทะไทย-กัมพูชาปราสาทตาควาย


ปโหลดเมื่อ 25 เม.ย. 2011
การปะทะไทย-กัมพูชาปราสาทตาควาย บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง






ทหารไทยรบกับเขมร



เผยแพร่เมื่อ 18 เม.ย. 2012
ทหารไทยรบกับเขมรที่ปราสาทตาเมืองตาควาย





ทหารกัมพูชา กำลังก่อสร้างราง และกระเช้า บริเวณเชิงทางขึ้นปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นการลำเลียงอาวุธ และทหารในการใช้เป็นฐานโจมตีประเทศไทย  อัปโหลดเมื่อ 5 มี.ค. 2011


วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สภาพปราสาทตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก จ.สุรินทร์ เมื่อ 4 ตุลาคม 2552 กรณีปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือนเป็นวิหารประจำที่พักคนเดินทางหรือในศิลาจารึกเรียกว่าบ้านมีไฟหรือธรรมศาลา (ธาดา สุทธิธรรม,หน้า 241) เพื่อให้คนเดินทางมองเห็นที่พักแรมในเวลากลางคืน โดยสังเกตจากแสงไฟที่ลอดออกมาตามช่องหน้าต่าง (เริงฤทธิ์ คงเมือง, หน้า 70)






ถนนทางเข้าปราสาทตาเมือนเป็นลูกรังแยกจากถนนลาดยางหมายเลข 2407 ถ่ายจากสนามหน้าปราสาทออกไป



สนามด้านหน้าปราสาท





















































ศิลาแลงและยอดปรางค์ มีห้องโถงเป็นมุขยาวอยู่ด้านหน้าองค์ปรางค์ ซึ่งยอดชำรุด แถวหน้าต่างเจาะเป็นช่องทะลุ มีด้านเดียว









ตัวอย่างบ้านมีไฟ ที่ปราสาทบ้านบุ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

สภาพปราสาทตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก จ.สุรินทร์ เมื่อ 4 ตุลาคม 2552 กรณีปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ดเป็นวิหารในศาสนาพุทธ ลัทธิวัชรยาน ประจำโรงพยาบาลหรืออโรคยศาล








สนามหญ้าด้านหน้าตกแต่งจนขาดจิตวิญญาณ




ปราสาทประธานอยู่ขวามือ ประตูทางเข้าอยู่ซ้ายมือ ถ่ายจากด้านหน้าปราสาท




ขณะดูปราสาทมีฝรั่งสหรัฐอเมริกาซ้อนมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากบ้านตาเมียง เข้ามาที่ปราสาท


4 ตุลาคม 2552 มีน้ำในสระน้ำด้านหน้าปราสาท



สระน้ำมีขั้นบันได เปรียบเทียบขนาดกับคนที่ยืน


ใกล้ๆกันกับสระน้ำมีกลุ่มแท่งหิน น่ามีป้ายบอก



ปราสาทประธานถ่ายจากนอกกำแพงศิลาแลง


อลังการ ขลังจากกาลเวลา ก่อนบูรณะ
ที่มา ธิดา สุทธิธรรม. (2544). ผังเมืองในประเทศไทย ผังชุมชนและการใช้ที่ดินสายอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: พิมพ์พัฒนา, หน้า 240.

ที่ประตูทางเข้าปราสาท ถ่ายจากด้านนอกกำแพงศิลาแลง เปรียบเทียบขนาดกับคนที่ยืน



ประตูทางเข้าปราสาท ถ่ายภายในปราสาทบริเวณหน้าปราสาทประธานออกไป


หันหลังกลับจากประตู เป็นปราสาทประธาน

ยอดปราสาทประธาน






หลังคาภายในปราสาทประธาน

ประตูอีกมุมหนึ่งของปราสาท ต้องก้ม








































































































วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สภาพปราสาทตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก จ.สุรินทร์ เมื่อ 4 ตุลาคม 2552 กรณีปราสาทตาเมือนธม

พนมในภาษาเขมรแปลว่าภูเขา ส่วนดงรักมาจากคำว่าดองเร็กแปลว่าไม้คานตรงตามลักษณะภูมิประเทศของสันเขาที่เป็นแนวตรง ตามช่องเขาของจ.สุรินทร์มีช่องเขาอยู่เป็นระยะๆ มักมีชื่อเรียกขึ้นต้นว่า “ตา” ใช้เป็นเส้นทางติดต่อ ระหว่างแผ่นดินสูงในประเทศไทยกับแผ่นดินต่ำในประเทศกัมพูชาหรือเขมรต่ำมาแต่อดีต http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=10 โดยเฉพาะช่องปราสาทตาเมือน ซึ่งเตี้ยกว่าบริเวณอื่น ด้วยระดับความสูง 262 ม.(ธาดา สุทธิธรรม,หน้า 237)


กลุ่มปราสาทช่องปราสาทตาเมือนหรือช่องตาเมียง อ.พนมดงรัก สร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ประกอบไปด้วยปราสาท 3 แห่งบริเวณใกล้กัน ได้แก่
1.ปราสาทตาเมือนธม
2.ปราสาทตาเมือนโต๊ด
3.ปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือนธม



ป้ายเล็กเกินไปก่อนถึงค่ายทหาร



ถนนหมายเลข 2407 สภาพดี ถ่ายไปทางทิศเหนือตรงไปบ้านตาเมียง ขวามือมีเพิงขายของ ซ้ายมือเป็นค่ายทหาร ต้นไม้สูงมีผ้าเหลืองผูกไว้กันการตัดโดยผู้ลักลอบ


สภาพถนนหมายเลข 2407 ถ่ายตรงขึ้นไปทางทิศเหนือสู่บ้านตาเมียง


สภาพถนนหมายเลข 2407 ยืนตำแหน่งเดียวกับรูปภาพข้างบน แต่มองตรงไปทิศใต้สู่ปราสาทตาเมือนธม



ชื่อค่ายทหาร ยามเฝ้าแผ่นดินตัวจริง



คำประกาศทหารไทยผู้กล้า



ป้ายคำอธิบายหน้าทางเข้าปราสาทตาเมือนธม






กรมศิลปากรน่าทำแผนผังอีกสักแผ่น ดูได้จากธาดา สุทธิธรรม, หน้า 238.



ที่ประตูทางเข้าพบแมลงสีส้มบนถนนสวยและแปลก



คิดถูกหรือผิด ถ้าเราประกาศว่าปราสาทตาเมือนธมเป็นของประเทศไทย ควรหรือที่ต้องกั้นแนวเขต



ป้ายนี้ให้ระวังระเบิด เสน่ห์อย่างหนึ่งที่ปราสาทพนมรุ้งหรือพิมายไม่มี นั่นคือการเชื่อมโยงกับเวลาปัจจุบัน




ผ้าใบของทหาร ช่วยดูแลกันด้วย พี่ทหารบอกว่า ไฟฟ้าก็ต้องไปลากสายมาจากหมู่บ้านห้อยโยงให้เห็นตามแนวต้นไม้ริมถนน2407 สัญญาณมือถือฝั่งไทยไม่มีเลย ฝั่งกัมพูชาเต็มเพียบ แต่เรามีดาวเทียมเองนะ



มองจากบันไดขั้นสูงสุดของตัวปราสาทไปทางทิศใต้สู่ประเทศกัมพูชา เห็นประตูกั้น

นี่คือประตูกั้นเขตแดน หันหน้าไปทางทิศใต้ รู้เลยว่าทำไมฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีเขมรถึงไม่กล้ามาที่นี่ในช่วง 9.2.2553 ก็ทางแคบซะขนาดนี้





หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นี่เป็นทางขึ้นสู่ตัวปราสาทตาเมือนธมทำด้วยศิลาแลง


มองจากบันไดขั้นแรก หันหน้าไปทางทิศเหนือขั้นบันได สูงชัน



บันไดแคบ ก้าวเดินปกติไม่ได้ ต้องตะแคงเท้า




บันไดขั้นบนสุดถ่ายกับนักรบผู้กล้า



จากบันไดขั้นบนสุดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้



จากตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้


พบนักท่องเที่ยวไทย 2 คนเท่านั้น คนไทยน่าจะไปกันมากๆ เพราะพี่ทหารบอกว่าเขมรมากันเยอะ ระดับสูงๆก็มาบ่อย แต่ของเราไม่ค่อยไปเลย นายกไทยไปก็ดี อย่าคิดว่าเรื่องเล็กน้อย นี่มันเป็นการเสียดินแดนของประเทศเชียวนะ



ปราสาทปรางค์ประธาน




ภาพแกะสลัก



ภาพแกะสลัก

ภายในปรางค์ประธาน



เปรียบเทียบขนาดตัวอักษรกับมือ



ภาษาเขมร



ระเบียงคด



ศิลาแลง

พระเขมรเดินผ่านช่องตาเมือนโดยมีทหารนำหน้ามาก่อน เห็นแล้วความรู้สึกตึงเครียด เพราะกิริยาที่เขมรแสดงประหนึ่งว่าที่นี่เป็นของเขมร

เขมรมากันเป็นสิบคนทั้งพระทั้งชาวบ้าน เดินผ่านช่องตาเมือนเข้ามา


พระเขมรเดินทั่วไปหมด มีแต่วัยรุ่นและพระหนุ่ม




ถ่ายรูปด้วยมือถือด้วยนะ



ก่อนการบูรณะขลังจริงๆ ต้นไม้บ่งบอกอายุ
ที่มา ธิดา สุทธิธรรม. (2544). ผังเมืองในประเทศไทย ผังชุมชนและการใช้ที่ดินสายอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: พิมพ์พัฒนา, หน้า 240.


สถานการณ์ชายแดนปราสาทตาเมือนธม

อัปโหลดเมื่อ 22 เม.ย. 2011